วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แก้วมังกร ลดหุ่น ลดโรคเบาหวาน



       


แก้วมังกรอีกหนึ่งผลไม้ที่มีคุณค่ามากมายมหาศาลที่คนไทยยังไม่ค่อยรู้จักผลไม้ชนิดนี้มากนัก




สุดยอดประโยชน์ของแก้วมังกร
1.แก้วมังกรมีไฟเบอร์ปริมาณสูงมากจึงช่วยบำรุงการทำงานของระบบขับถ่าย จึงทำให้การขับถ่ายสะดวกและแก้อาการท้องผูก
2.ช่วยลดการดูดซึมของไขมันประเภทไตรกลีเซอร์ไรด์ ช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือด เป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนัก
3.แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่ให้ปริมาณเนื้อเยอะ สามารถทานแล้วอิ่มท้องสามารถกินแทนอาหารหนึ่งมื้อได้เลย
4. ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคท้องผูก โรคหัวใจ ความดันโลหิตต่ำ มะเร็งลำไส้ และต่อมลูกหมาก
5.ในสุภาพสตรีจะช่วยกระตุ้นต่อมน้ำนม
6.ช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือด
7.ทำให้ผิวพรรณสดชื่น ดูมีน้ำมีนวลเปล่งปลั่ง ชุ่มชื้น
8.เพิ่มธาตุเหล็ก บรรเทาโรคโลหิตจาง
9.เสริมสร้างภูมิต้านทานกระดูก ฟัน และกล้ามเนื้อ
10.แก้วมังกรมีแร่ธาตุมากมายไม่ว่าจะเป็นวิตามินซี ฟอสฟอรัส โปรตีน แคลเซียม
11.เป็นผลไม้ที่ช่วยดับร้อน ดับกระหายได้เป็นอย่างดี
12.แก้วมังกรช่วยลดน้ำหนักและช่วยควบคุมน้ำหนักได้ด้วย เนื่องจากเป็นผลไม้ตัวช่วยในเรื่องการลดความอ้วนเนื่องจากมีแคลอรี่ต่ำ
13.ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยความแก่ชรา และริ้วรอยต่างๆ
14.ช่วยดูดซับสารพิษต่างๆออกจากร่างกาย เช่น สารตกค้างอย่างตะกั่ว ที่มาจากควันท่อไอเสีย หรือสารตกค้างที่มาจากยาฆ่าแมลง
ใครที่ไม่ชอบทานแก้วมังกรหรือไม่รู้จักแก้วมังกร 
        เมื่ออ่านบทความนี้ต้องรีบเปลี่ยนใจหาแก้มมังกรมาทานกันจะบอกว่าอร่อยด้วย ของดีมีประโยชน์อย่างนี้ไม่ทานไม่ได้แล้ว

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน


          โรคเบาหวาน คือ ภาวการณ์ไม่สมดุลของฮอร์โมนที่ชื่อว่า “อินซูลิน” ซึ่งมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ เพื่อเผาผลาญให้เกิด
เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ว่า ไม่สมดุล คือ มีน้อยไม่พอกับความต้องการ หรือมีไม่น้อยแต่ไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อผนังเซลล์
ได้เต็มที่ ผลก็ออกมาเหมือนกับว่ามีอินซูลินน้อย คือพาน้ำตาลเข้าไปในเซลล์ไม่ได้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ซึ่งเป็นภาวะที่
เป็นพิษกับเนื้อเยื่อทั่วไปในร่างกาย

  คนเป็นเบาหวานโดยทั่วไป มักละเลยเรื่องของการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย โดยคิดว่าเมื่อรับประทานยาแล้วก็คงหาย

จากโรค เหมือนโรคทั่วไป ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด การใช้ยาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถควบคุม
เบาหวานได้ ต้องรู้จักรับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วนกับความต้องการของร่างกายด้วย

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทาน คือ



     • ข้าวกล้อง มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนผ่านการขัดสีน้อย
          • วุ้นเส้น ทำจากถั่ว สามารถบริโภคได้ประจำตามปริมาณที่กำหนด ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยววุ้นเส้น , แกงจืด, ยำวุ้นเส้น
เป็นต้น
          • ไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว , น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันมะกอก เป็นต้น
          • ผัก ผลไม้ การรับประทานผักให้หลากหลายทุกวันอย่างน้อย 2 มื้อ ต่อวัน จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นแน่นอน การผัดผักให้อร่อยแต่ใช้
น้ำมันน้อย ๆ ทำได้โดยใช้น้ำต้มกระดูกแทนปริมาณน้ำมันที่ต้องใช้บางส่วน เคล็ดลับของการเตรียมน้ำต้มกระดูก อยู่ที่ซี่โครงไก่ ที่ตัดมัน
และไส้ออกล้างให้สะอาด ต้มในน้ำเปล่า ใช้ซี่โครงไก่ 8 ขีด ต่อน้ำ 3 ลิตร ใช้ไฟอ่อน เคี่ยวนาน 1- 1.5 ช.ม. เพื่อให้ได้น้ำที่ใสมีรสหวาน
หอม สำหรับใช้ผัดหรือต้มอาหารต่าง ๆ

ผลไม้ที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด คือ
 - แก้วมังกร



ผักที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด คือ

  • มะระขี้นก หั่นชิ้นเล็กแล้วตากแดดให้แห้ง นำมาชงกับน้ำเหมือนชงชา
          • ฟักทอง ใช้เมล็ดฟักทองต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 300 เมล็ด จะช่วยให้อาการเบาหวานดีขึ้น นอกจากนี้ผลฟักทองและน้ำฟักทอง           
ลดอาหารเบาหวานได้
          • แตงกวา การคั้นน้ำแตงกวาพร้อมเมล็ดจะดีต่อสุขภาพเมื่อดื่มขณะท้องว่าง

ประเภทน้ำนม


          • ควรเลือกดื่มชนิดจืด ไม่เติมน้ำตาลหรือชนิดไม่ ปรับปรุงแต่งรส
          • นมพร่องมันเนย คือมีไขมันประมาณ 1.9% รับประทานได้
          • นมเปรี้ยว ควรเลือกชนิดที่ไม่ปรุงแต่งรส
          • นมข้นหวาน ไม่ควรใช้นมชนิดนี้
          • นมถั่วเหลือง ชนิดหวาน ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วย เบาหวาน ควรทำเองโดยใช้แป้งถั่วเหลืองผสมกับน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้
ที่สลากหน้าถุง โดยใช้แช่น้ำให้พองและนำมาปั่นกับน้ำ ในอัตราส่วน ถั่วเหลืองดิบ 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน แล้วคั้นเอาแต่น้ำไปต้มให้เดือด
10 นาที ก็ใช้ได้
          • น้ำเต้าหู้ ผู้ป่วยเบาหวานดื่มได้ แต่ต้องไม่เติมน้ำตาล

เมนูอาหารที่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน เช่น




          1. แกงเลียงกุ้งสด
          2. ผัดสะตอกะปิใส่เต้าหู้
          3. ผัดถั่วงอกใส่เต้าหู้
          4. ยำมะเขือเผา
          5. ส้มตำมะละกอ
          6. น้ำพริกกะปิปลาทู

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง

          • น้ำตาลทุกชนิดรวมทั้งน้ำผึ้ง น้ำตาลจากผลไม้
          • ขนมหวานและขนมเชื่อมต่าง ๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้น สังขยา ลอดช่อง ฯลฯ
          • ผลไม้กวน เช่น มะม่วงกวน ทุเรียนกวน สับปะรดกวน ฯลฯ
          • น้ำหวานต่าง ๆ น้ำผลไม้ ยกเว้น น้ำมะเขือเทศ นมรสหวานรวมทั้งน้ำอัดลมและ
          • เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ (ถ้าดื่มกาแฟควรดื่มกาแฟดำไม่ควรใส่น้ำตาล นมข้นหวาน หรือครีมเทียม แต่สามารถใช้
น้ำตาลเทียมได้บ้าง)
          • ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น ลำใย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด น้อยหน่า ลิ้นจี่ อ้อย สับปะรด ผลไม้แช่อิ่ม หรือ เชื่อมน้ำตาล

          • ของขบเคี้ยวทอดกรอบ และอาหารชุบแป้งทอดต่างๆ เช่น ปาท่องโก๋ กล้วย แขก ข้าวเม่าทอด

กลุ่มที่รับประทานได้..แต่จำกัดจำนวน

          • อาหารพวกแป้ง ข้าว เผือก มัน ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง มักกะโรนี
          • ลดอาหารไขมัน เช่น ขาหมู ข้าวมันไก่ หมูสามชั้น หรือ อาหารทอดมันมากๆ ไขมัน มาก ๆ
          • ตลอดจนไขมันจากพืชบางชนิด เช่น กะทิ น้ำมันปาล์ม ควรใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมัน ข้าวโพด น้ำมันมะกอก
          • อาหารสำเร็จรูป หรืออาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น น้ำตาลเทียม น้ำตาล จากผลไม้
          • ผักประเภทที่มีแป้งมาก เช่น ฟักทอง กระเจี๊ยบ หัวปลี แครอท สะเดา ถั่วลันเตา หอม หัวใหญ่ ผลไม้บางชนิด เช่น ฝรั่ง กล้วย
เงาะ มะละกอ
          • อาหารจากโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ หรือโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ ให้รับประทาน ปกติ หลีกเลี่ยงเนื้อติดมัน ไก่ติดหนัง

          • นมจืดพร่องไขมัน ควรหลีกเลี่ยงนมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ข้าวกล้อง ลดโรคเบาหวาน


       ผู้ที่รับประทานข้าวขาวมากกว่า 5 มื้อต่อสัปดาห์ จะพบว่ามีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น เนื่องจากข้าวกล้องจะมีกรรมวิธีผลิต และมีคุณสมบัติที่ต่างจากข้าวขาว จึงได้มีการศึกษาผลของข้าวกล้องต่อการเกิดโรคเบาหวาน
ได้มีการศึกษาคนประมาณห้าแสนคนพบว่าผู้ที่รับประทานข้าวอย่างเดียว จะสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวาน หากเพิ่มข้าวกล้อง 2 มือต่อสัปดาห์หรือเพิ่มข้าวกล้องในส่วนผสมของข้าวขาวประมาณหนึ่งในสาม จะพบว่าลดโอกาสเกิดโรคเบาหวานลงร้อยละ 16 หากทดแทนด้วยธัญพืชจะสามารถลดการเกิดเบาหวานได้เพิ่มขึ้น

ข้าวกล้อง, ข้าวซ้อม, ข้าวซ้อมมือ คือเมล็ดข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือผ่านการขัดสีแค่บางส่วน ข้าวกล้องมีรสชาติมันปานกลางและมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าข้าวสาร (ข้าวขาว) ข้าวทุกประเภทอาทิ ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดสั้น ข้าวเหนียว สามารถทำเป็นข้าวกล้องได้ทั้งสิ้น

สารอาหารในข้าวกล้อง



ข้าวกล้องและข้าวสารมีปริมาณพลังงาน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันที่กระบวนการผลิตและคุณสมบัติทางโภชนาการอื่น เมื่อเปลือกของเมล็ดข้าวเปลือกถูกกะเทาะออกจะได้ข้าวกล้อง ถ้าต้องการได้ข้าวสาร ผิวของเมล็ดข้าวอีกชั้นหนึ่งคือเยื่อหุ้มเมล็ดและจมูกข้าวจะถูกขัดสีออกไป ซึ่งทำให้วิตามินและสารอาหารอื่น ๆ ลดลงเช่น วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี6 ธาตุเหล็ก และแมกนีเซียม แต่ข้าวกล้องนั้นมีระยะในการเก็บรักษาน้อย เพราะเกิดความชื้นง่ายจึงทำให้เกิดเชื้อรา

วิตามินบี1 หรือ ไทอามีน หรือ ไทอามิน (อังกฤษ: thiamine, thiamin) หรือ วิตามินบี1 (อังกฤษ: vitamin B1) เป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องรับประทานอาหารหรืออาหารเสริม มีคุณสมบัติพิเศษคือไม่มีพิษตกค้าง ถ้ามีมากเกินไป ร่างกายจะขับออกมาทันที
ประโยชน์
- จำเป็นต่อการทำงานของสมอง ระบบประสาท ระบบย่อย หัวใจและกล้ามเนื้อ
- ช่วยให้เจริญอาหารและช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย
- ช่วยแก้อาการเมาคลื่นและเมาอากาศ
- ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตและรักษางูสวัดให้หายเร็วขึ้น
- ช่วยให้แข็งแรง

วิตามินบี2 หรือ ไรโบเฟลวิน (อังกฤษ: riboflavin) หรือ วิตามินบี2 (อังกฤษ: vitamin B2) ใช้ในการเจริญเติบโต เมื่อขาดจะกลายเป็นคนแคระเกร็น จำเป็นต่อเอนไซม์และกระบวนการเมทาบอลิซึมของสารอาหารต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะไขมัน ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด อันเป็นสาเหตุให้เส้นเลือดแข็งตัว ขจัดไขมันชนิดอิ่มตัวในเส้นเลือด เหตุนี้เองวิตามินบี2 จึงได้สมญาว่า "วิตามินป้องกันไขมัน" วิตามินบี2 ช่วยระงับอาการตาแฉะได้ จึงใช้เป็นส่วนประกอบในยาหยอดตา

วิตามินบี6 (อังกฤษ: vitamin B6) เป็นวิตามินที่มักใช้ร่วมกับบี1 และบี12 ซึ่งวิตามินบี1 ทำงานกับคาร์โบไฮเดรตส่วนวิตามินบี6 และบี12 ทำงานร่วมกับโปรตีนและไขมัน ร่างกายคนเราต้องการวิตามินบี6 ประมาณ 1.5 มิลลิกรัม
ประโยชน์
 - ช่วยเปลี่ยนกรดอะมิโนให้เป็นวิตามินบี3 หรือไนอะซิน
 - ช่วยร่างกายสร้างภูมิต้านทานแอนติบอดี และช่วยสร้างเซลล์โลหิตใด้ดียิ่งขึ้น
 - ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและแร่ธาตุแมกนีเซียม
 - ช่วยบรรเทาโรคที่เกิดจากระบบประสาทและผิวหนัง
 - ช่วยบรรเทาการคลื่นไส้อาเจียน
 - ช่วยบรรเทาอาการปากแห้งและคอแห้ง
 - ช่วยแก้การเป็นตะคริว แขนขาชาและช่วยขับปัสสาวะ

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ความสำคัญของของดัชนีน้ำตาล

                                     ดัชนีน้ำตาล (Glycemic index)คืออะไร


        ดัชนีน้ำตาล (Glycemic index)

                อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่างชนิดกันร่างกายจะย่อย ดูดซึม และนำไปใช้ต่างกันมีผลทำให้การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดแตกต่างกัน ซึ่งมีผลทำให้ได้รับพลังงานเร็วหรือช้าต่างกันด้วย ค่าดัชนีน้ำตาล จะเป็นการเปรียบเทียบอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต กับ น้ำตาลกลูโคสในปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เท่ากัน โดยให้น้ำตาลกลูโคสมีค่าเป็น 100 เมื่อจำแนกอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ตามดัชนีน้ำตาลจะแบ่งได้เป็น
 - อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง 100-60
 - อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลปานกลาง 60-40
 - อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ น้อยกว่า 40    


ซึ่งดัชนีน้ำตาลมีส่วนช่วยในการวางแผนความคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
              อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูงจะกระตุ้นการหลั่งอินสุลิน ซึ่งจะไม่เกิดในอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ ถ้านักกีฬาต้องการใช้ไขมันเป็นพลังงาน จะต้องรักษาระดับการหลั่งอินสุลินให้ค่อนข้างต่ำ อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำจะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้ไม่รู้สึกหิว และร่างกายจะใช้และเก็บกลูโคสได้ดี ส่วนอาหารที่มีมดัชนีน้ำตาลสูง ร่างกายจะใช้เป็นพลังงานได้ดี แต่จะหิวเร็ว ไม่ได้หมายความว่า อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูงจะไม่ดี หรืออาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำจะดีสำหรับนักกีฬาเสมอไป ขึ้นอยู่กับ ช่วงเวลาที่เหมาะสม